ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

บทที่ ๑ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเภสัชกรรม : ๔.ประวัติยาเบญจกูล

เบญจกูล หรือ พิกัดเบญจกูล เป็นพิกัดยาที่ใช้กันมากในตำรับยาไทย เพราะว่าใช้ประจำในธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในร่างกายของคนเรา ทั้งยังใช้แก้ในกองฤดู กองสมุฏฐานต่างๆอีกด้วย 


ที่มาภาพ : https://thaiherbweb.com/th/articles/5123-เบญจกูล

พระอาจารย์ท่านได้กล่าวสืบต่อกันมาว่ามีฤๅษี 6 ตน ซึ่งแต่ละคนได้ค้นคว้าตัวยา โดยบังเอิญตัวแต่ละอย่างนั้นมีสรรพคุณรักษาโรค และสมุฏฐานต่างๆได้ ซึ่งมีประวัติดังนี้
  • ฤๅษีตนหนึ่งชื่อ “ปัพพะตัง” บริโภคซึ่งผลดีปลี เชื่อว่า อาจจะระงับอชิณโรคได้ (แพ้ของแสลง)
  • ฤๅษีตนหนึ่งชื่อ “อุธา” บริโภคซึ่งรากช้าพลู เชื่อว่า อาจจะระงับซึ่งเมื่อยขบได้
  • ฤๅษีตนหนึ่งชื่อ “บุพเทวา” บริโภคซึ่งเถาสะค้าน เชื่อว่า อาจระงับเสมหะและวาโยได้
  • ฤๅษีตนหนึ่งชื่อ “บุพพรต” บริโภคซึ่งรากเจตมูลเพลิง เชื่อว่า อาจจะระงับโรคอันบังเกิดแต่ดีอันทำให้หนาวและเย็นได้
  • ฤๅษีตนหนึ่งชื่อ “มหิทธิธรรม” บริโภคซึ่งเหง้าขิง เชื่อว่า อาจระงับตรีโทษได้
  • ฤๅษีตนหนึ่งชื่อ “มุรทาธร” เป็นผู้ประมวลสรรพยาทั้งหมดนี้เข้าด้วยกัน ให้ชื่อว่า เบญจกูลเสมอภาค เชื่อว่า ยาเบญจกูลนี้ อาจระงับโรคอันบังเกิดแก่ ทวัตติงสาการ คือ อาการ 32 ของร่างกายมีผมเป็นต้นและมันสมองเป็นที่สุด และบำรุงธาตุทั้ง 4 ให้บริบูรณ์
 ตัวยาแต่ละตัวในเบญจกูล ใช้เป็นยาประจำธาตุได้ดังนี้ 
ดอกดีปลี ประจำธาตุดิน (ปถวีธาตุ)
รากช้าพลู ประจำธาตุน้ำ (อาโปธาตุ)
เถาสะค้าน ประจำธาตุลม(วาโยธาตุ)
รากเจตมูลเพลิง ประจำธาตุไฟ(เตโชธาตุ)
เหง้าขิง ประจำทวารของร่างกาย (อากาศธาตุ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น